สวัสดีคุณแม่ผู้รักสุขภาพทุกท่านครับ กลับมาบกับสาระสุขภาพดีๆสำหรับคุณแม่และลูกน้อยใน Motheife tips กันอีกเช่นเคยครับ ในอีพีนี้ว่าด้วยคำถามที่ว่า ถ้าคุณแม่ตั้งน้ำหนักมากลูกในครรภ์จะมีน้ำหนักมากตามไปด้วยจริงหรือ ? ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำถามนี้เป็นอย่างไร ติดตามไปพร้อมๆกันครับ
น้ำหนักของคนท้องควรจะขึ้นเท่าไหร่นั้น จะขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกาย หรือ bmi นั่นแหละครับ โดยคำนวณจาก น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ (เป็นกิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง(เป็นเมตร)ยกกำลังสอง เช่น คุณแม่หนัก 60 กิโลกรัม สูง 175 เซนติเมตร ก็จะได้เป็น 60 กิโลกรัม หาร 1.75 เมตร x 1.75 เมตร = 19.5 พอได้ค่าแล้วไปดูในตารางเทียบกันครับ คุณแม่ที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ 19.5 เทียบกับตารางจะอยู่ระหว่าง 18.5 – 24.9 (อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักตัวปกติ) ควรมีการเพิ่มน้ำหนักตัวเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์เท่ากับ 11.5 – 16 กิโลกรัม และควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.4 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ เป็นต้น ซึ่งคุณแม่จำเป็นต้องรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ภายในเกณฑ์ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป โดยอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและภาวะอ้วน
น้ำหนักของทารกในครรภ์แต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไปจากปัจจัยหลายๆอย่าง โดยทั่วไปแล้วในประเทศไทยนั้น น้ำหนักที่เหมาะสมของทารกในครรภ์จะอยู่ที่ประมาณ 2,500 – 4,000 กรัม ซึ่งหากทารกในครรภ์มีน้ำหนักตั้งแต่ 4,000 กรัมขึ้นไปถือว่าเด็กอยู่ในเกณฑ์ที่ตัวใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม การที่ทารกในครรภ์ตัวใหญ่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเด็กที่สุขภาพไม่ดีเสมอไปนะครับ เพียงแต่จะมีความเสี่ยงมากกว่าเด็กทั่วไป และทำให้ยากต่อการคลอด และอาจเกิดอันตรายตามมาได้
อาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไปตอนท้องมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแม่ท้องจะต้องกินเพิ่มขึ้นเผื่อลูกในท้องนะครับ เพราะปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของลูกน้อยนั่นก็คือคุณภาพของอาหารที่แม่ท้องรับประทานเข้าไป ไม่ใช่ปริมาณของอาหาร เพราะหากว่าแม่ท้องกินเพิ่มมากขึ้นจนเกินไป แทนที่จะเป็นผลดีก็อาจกลับกลายเป็นผลเสียที่อาจส่งผลร้ายต่อลูกในท้อง และอาจทำให้ลูกมีปัญหาสุขภาพตอนที่เค้าโตขึ้นได้ อีกทั้งแม่ท้องที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์มากกว่า 24 กิโลกรัม จะมีโอกาสมากเป็น 2 เท่าที่ลูกในครรภ์จะมีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม โดยเรื่องของน้ำหนักตัวทารกก็ได้มีงานวิจัยซึ่งสัมพันธ์สอดคล้องกับประเด็นนี้ครับ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกา (JAMA) นำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็มีโอกาสที่จะทำให้ลูกในท้องตัวใหญ่และมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ได้เช่นกัน และจากการศึกษาดังกล่าว ที่ได้มีการค้นคว้า และสำรวจจากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดกว่า 30,000 คน ทางทีมวิจัยได้มาซึ่งข้อสังเกตดังต่อไปนี้
1.คนท้องที่มีน้ำหนักตัวมากมักจะมีปริมาณน้ำตาล และไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของทารกในครรภ์ตามไปด้วยเช่นกัน
2.คุณแม่ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ อาจจะส่งผลทำให้ทารกที่อยู่ในครรภ์มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าปกติได้
จึงอาจสรุปได้ว่า แม่ตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ ลูกในครรภ์ก็มีโอกาสที่จะมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์และพ่วงมาด้วยความเสี่ยงทางสุขภาพอื่นๆอีกด้วยครับ
1. ทานกรดโฟลิก 5 มิลลิกรัม/วัน ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ และไอโอดีนเสริม 150 ไมโครกรัม/วัน เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต และพัฒนาการทางระบบประสาทที่ดี ป้องกันทารกผิดปกติแต่กำเนิด ซึ่งกรดโฟลิกก็มีอยู่ในพืชผักอย่าง ผักโขม กะหล่ำปลี ผักกาดเขียว บรอกโคลี ผลไม้รสเปรี้ยว อย่าง มะละกอ องุ่น กล้วย แคนตาลูป หรือแม้แต่สตรอว์เบอร์รี
2. ควรรับประทานในรูปคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ธัญพืช ข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เป็นต้น รวมทั้งงด และหลีกเลี่ยงอาหารหวาน เช่น ขนม ลูกอม ช็อคโกแลต เยลลี่ เป็นต้น
3. กลุ่มอาหารประเภทกากใย ได้แก่ ผัก และผลไม้ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล ไขมัน และโคเลสเตอรอล และอาหารกลุ่มนี้ยังผ่านลำไส้ได้ช้าทำให้รู้สึกอิ่มนาน อาหารที่มีกากใยอาหารสูงได้แก่ แอปเปิ้ลเขียว ฝรั่ง ถั่วแระญี่ปุ่น ลูกพรุน
ฟักทอง มะละกอสุก กล้วย ส้ม เป็นต้น
4. กลุ่มแคลเซียม เช่น ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง และนมซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด โดยเน้นให้ดื่มนมไขมันต่ำ นมจืดพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนยเป็นประจำทุกวัน แต่สำหรับคุณแม่ที่ไม่ค่อยได้ดื่มนมก็ไม่จำเป็นต้องหักโหมดื่มในปริมาณมากๆเพื่อชดเชยแคลเซียมครับ โดยเฉพาะนมวัว ซึ้งอาจจะส่งผลให้ในอนาคตลูกๆของคุณแม่มีโอกาสแพ้นมได้
นอกจากนี้คุณยังต้องการสารอาหารที่จำเป็นอย่าง โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินบี2 บี6 บี12 DHA โคลีน และโอเมก้าสาม ซึ่งสามารถเลือกพิจารณาจากฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร หรือขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ในกรณีที่คุณแม่อาจมีอาการแพ้ได้ครับ
1. เคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำงานบ้าน การลุกเดินผ่อนคลาย หรือหลังรับประทานอาหารเสร็จ เป็นต้น ไม่ควรนั่ง หรือนอนเป็นเวลานาน
2. คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถออกกำลังเบาๆ ได้ ที่ไม่ทำให้เหนื่อยและใช้เวลานานจนเกินไป เช่น การเดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และโยคะ เป็นต้น และทางที่ดีควรรอให้อายุครรภ์ครบ 3 เดือนขึ้นไปครับเนื่องจากไตรมาสนี้ทารกเริ่มแข็งแรงขึ้นมาแล้วนั่นเอง
โดยสรุปครับ เพื่อให้ทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้พอเหมาะแต่ได้สารอาหารอย่างครบถ้วน งดอาหารหวานจัด หรือเค็ม เผ็ด และ เปรี้ยวจัด เพื่อควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มเกินสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม เพื่อให้ลูกน้อยมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ส่งผลให้ทารกคลอดง่าย และไม่มีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลังได้นั่นเองครับ
Page : ถ้าคุณแม่อ้วนลูกในครรภ์จะอ้วนตามหรือไม่
ตอบ : สินค้าพร้อมส่ง เราจัดส่งให้ท่านทุกวัน โดยปกติจะใช้เวลา 1-3วัน สินค้าจะถึงท่าน
ตอบ : สินค้าทุกชิ้นของทางบริษัทผ่านการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เลขที่ 20-1-05761-5-0001
ผู้นำการให้บริการจัดจำหน่าย อุปกรณ์การแพทย์ อาหารเสริม ชุดตรวจ ATK ราคาส่ง มีประสบการณ์การให้บริการธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ และอาหารเสริมอย่างยาวนาน ทีมงาน Worldmed Solution ยินดีเป็นส่วนหนึ่งที่จะรับใช้คุณ ช่วยให้คุณมีสุขภาพร่างกายและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี ด้่วยความใส่ใจดูเเลทุกรายละเอียด เพื่อให้คุณมั่นใจว่าจะได้รับการ บริการที่เหนือกว่า สัมผัสความประทับใจในทุกการบริการของเรา