เบาหวาน คือ โรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ โดยเกิดจากความผิดปกติของการใช้น้ำตาล ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ตามปกติ ทำให้มีระดับน้ำตาลสูงขึ้น
เมื่อเป็นแล้วจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตา โรคของระบบประสาท รวมถึงโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย แม้ว่าโรคนี้จะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไปหรือควบคุมลงมาสู่ระดับของคนปกติได้หากรู้จักดูแลตนเองและมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น อย่ารอช้า ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากการขาดอินซูลิน เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้เลย (อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน ทำหน้าที่ช่วยนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำรงชีวิต) เบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี
เบาหวานชนิดที่ 2 พบมากในคนส่วนใหญ่ เกิดจากการที่เซลล์ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีหรือที่เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายเหมือนขาดอินซูลินไประดับหนึ่ง ร่างกายต้องทดแทนโดยการสร้างอินซูลินออกมามากขึ้น จนตับอ่อนทำงานมากขึ้นจนทำงานไม่ไหวถ้าไม่ช่วยแก้ไข นอกจากนี้ตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ยังสร้างอินซูลินได้ไม่มากเท่าคนปกติด้วย จึงมีระดับอินซูลินที่ไม่พอเพียงแก่ความต้องการ สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ได้แก่ พันธุกรรม ความอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย ดังนั้น หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ก็จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากขึ้น
เบาหวานชนิดที่ 3 เป็นเบาหวานชนิดที่มีสาเหตุชัดเจน เช่นโรคตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนถูกตัด โรคที่มีเหล็กสะสมมากเกินไปในตับจนทำให้ตับเสียหาย การรับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ การได้รับสารเคมี ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
เบาหวานชนิดที่ 4 เป็นเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดในผู้ที่ไม่มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์ เมื่อคลอดแล้วเบาหวานก็จะหายไป แต่คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นเบาหวานได้อีกในอนาคต
วิธีที่จะทำให้ทราบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือเป็นเบาหวานหรือไม่ แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากงดอาหาร ถ้าปกติระดับน้ำตาลจะน้อยกว่า 100 มก./ดล. ถ้าอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล. ถือเป็นภาวะที่มีความเสี่ยง แต่ยังไม่เป็นเบาหวาน หรือบางครั้งเราจะเรียกภาวะนี้ว่าเป็นเบาหวานแฝง แต่ถ้าเกิน 126 มก./ดล. จะจัดว่าเป็นเบาหวาน
ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจค่าน้ำตาลหลังรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง ถ้าร่างกายเอาน้ำตาลไปใช้ได้ดี ค่าน้ำตาลควรน้อยกว่า 140 มก./ดล. แต่ถ้าเกิน 200 มก./ดล. จะจัดว่าเป็นเบาหวาน หากอยู่ระหว่าง 140-199 มก./ดล. จะอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงแต่ยังไม่เป็นเบาหวาน หรือจะเรียกว่าเป็นเบาหวานแฝงก็ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีการตรวจค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้บอกระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ถ้าค่า HbA1c สูงแสดงว่าที่ผ่านมา 3 เดือนมีระดับน้ำตาลสูง แม้จะมีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติก็ตาม ทั้งนี้ค่า HbA1c ปกติจะอยู่ที่ 4.3-5.6% ถ้ามีค่าอยู่ระหว่าง 5.7-6.4% ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้ในอนาคตหรือเป็นเบาหวานแฝงได้ ถ้ามีค่าตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไปแสดงว่าเป็นเบาหวาน อย่างไรก็ตามการจะใช้ค่า HbA1c มาตัดสินว่าเป็นเบาหวานหรือไม่เป็นนั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับชัดเจนเพราะการตรวจ HbA1c ยังไม่ได้มาตรฐานในการตรวจบางวิธี
ดังนั้น เมื่อทราบแล้วว่าตนเองจัดอยู่ในกลุ่มไหน ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาจต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่ง หากเป็นกลุ่มเสี่ยงจะต้องป้องกัน เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่หาทางป้องกัน จะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้สูงมาก
Low Carb Diet
เป็นการควบคุมจำนวนคาร์โบไฮเดรตให้น้อยที่สุด สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดที่สูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการกินแบบนี้ให้ผลดีในบางราย ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
Mediterranean Diet
เป็นวิธีการกินที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เน้นกินผัก ผลไม้ ปลา ไก่ ถั่ว น้ำมันมะกอก และธัญพืช และเลี่ยงเนื้อแดง เนย และโซเดียม โดยวิธีการกินแบบนี้ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
DASH Diet
เป็นวิธีการกินเพื่อลดความดันโลหิต เน้นกินผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ธัญพืช ถั่ว เมื่อกินแบบ DASH diet ควบคู่กับการออกกำลังกาย ส่งผลให้ความไวต่ออินซูลินดีขึ้น
The Zone Diet
เป็นการกินที่มีเป้าหมายในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด โดยมื้ออาหารประการไปด้วย คาร์โบไฮเดรต 40% โปรตีน 30% ไขมัน 30% โดยคาร์โบไฮเดรตที่กินจะต้องเลือกชนิดที่มีค่า GI ต่ำ
Vegan หรือมังสวิรัติ
ผู้ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ มีแนวโน้มว่าจะได้รับไฟเบอร์มากกว่า และกินไขมันน้อยกว่าคนที่กินเนื้อสัตว์ แต่ทั้งนี้ควรปรึกษานักโภชนาการว่าควรกินแบบใดจึงได้รับสารอาหารครบถ้วน
การรักษาเบาหวานจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและทานยาตามแพทย์สั่ง สิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลตนเองและสร้างวินัยทางสุขภาพ แน่นอนว่าคุณจะมีสุขภาพที่ดีไปอีกยาวนาน
Page : เป็นเบาหวาน กินแบบไหนดี ?เป็นเบาหวาน กินแบบไหนดี ?เป็นเบาหวาน กินแบบไหนดี ?เป็นเบาหวาน กินแบบไหนดี ?
ตอบ : สินค้าพร้อมส่ง เราจัดส่งให้ท่านทุกวัน โดยปกติจะใช้เวลา 1-3วัน สินค้าจะถึงท่าน
ตอบ : สินค้าทุกชิ้นของทางบริษัทผ่านการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เลขที่ 20-1-05761-5-0001
ผู้นำการให้บริการจัดจำหน่าย อุปกรณ์การแพทย์ อาหารเสริม ชุดตรวจ ATK ราคาส่ง มีประสบการณ์การให้บริการธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ และอาหารเสริมอย่างยาวนาน ทีมงาน Worldmed Solution ยินดีเป็นส่วนหนึ่งที่จะรับใช้คุณ ช่วยให้คุณมีสุขภาพร่างกายและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี ด้่วยความใส่ใจดูเเลทุกรายละเอียด เพื่อให้คุณมั่นใจว่าจะได้รับการ บริการที่เหนือกว่า สัมผัสความประทับใจในทุกการบริการของเรา